วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2550

เหี้ยพอกัน...ถึงอยู่กันได้

สัมพันธ์ลึก"ทักษิณ-สนธิ" เหมือนจะแพ้ แต่ชนะเหมือนจะรัก แต่ขัดแย้ง



ถ้าย้อนอดีตกลับไปเมื่อประมาณ 15 ปีก่อน ถ้ามีใครบอกว่าวันหนึ่ง "ทักษิณ ชินวัตร" กับ "สนธิ ลิ้มทองกุล" จะขัดแย้งกันอย่างรุนแรงถึงขั้นต้อง "ล้ม" กันไปข้างหนึ่ง

ก็คงไม่มีใครเชื่อ

เพราะในวันนั้นทั้งคู่คือ "คนรุ่นใหม่" ที่มีสายสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งทั้งทางธุรกิจและส่วนตัว

เรื่องที่ "สนธิ" บอกว่าเคยให้หุ้น "ไออีซี" กับ "ทักษิณ" ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างความสัมพันธ์ในช่วงที่ยังรักกันหมายชื่น

"สนธิ" ซื้อบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนลเอ็นจิเนียริ่ง หรือ "ไออีซี" จาก "ปูนซิเมนต์ไทย"

และแบ่งหุ้นส่วนหนึ่งขายให้ "ทักษิณ" ในราคาพาร์ 10 บาทก่อนแต่งตัวเข้าตลาดหุ้น

ส่วนหนึ่งเพราะต้องการสร้างสัมพันธ์กับ "ทักษิณ" ในเรื่องการขายโทรศัพท์มือถือ ซึ่ง "เอไอเอส" ของ "ทักษิณ" เป็นเจ้าของเครือข่ายเซลลูลาร์ 900

เพราะคนที่จะขายมือถือในยุคนั้นต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของเครือข่ายก่อน

แต่เมื่อ "ไออีซี" เข้าตลาดหุ้นได้พักใหญ่ ไม่รู้ว่าเพราะขัดแย้งกันในเรื่องแนวทางธุรกิจหรือ "ทักษิณ" ต้องการทำกำไรจากราคาหุ้น

เขาก็เทขายหุ้น"ไออีซี" ฟันกำไรไปเป็นหลัก 100 ล้าน

นั่นคือ จุดเริ่มต้นความไม่พอใจของ "สนธิ" ที่มีต่อ "ทักษิณ"

จากนั้นเส้นทางความสัมพันธ์ระหว่าง "สนธิ" กับ "ทักษิณ" ก็เป็นไปในลักษณะกอดคอกันบ้าง เหยียบเท้ากันบ้างตลอดเวลาตามดีกรีความหมั่นไส้ของคนรุ่นเดียวกัน

ครั้งหนึ่ง "สนธิ" เคยซื้อคลื่นความถี่ 1800 จาก "ดีแทค" มาทำระบบโทรศัพท์มือถือแข่งกับ "ทักษิณ"

ครั้งหนึ่ง "สนธิ" เคยคิดลงทุนทำดาวเทียม "ลาวสตาร์" แข่งกับดาวเทียม "ไทยคม"

และครั้งหนึ่ง "เชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์" ต้องลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ หรือ "ชินคอร์ป" ในปัจจุบัน เพราะเข้าไปช่วย "สนธิ" เทกโอเวอร์กิจการหนึ่งในขณะที่ "ทักษิณ" ไม่เห็นด้วย

รวมถึงการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวพันกับการแข่งขันชิงสัมปทานสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง

"ทักษิณ" ไม่พอใจมากและกดดันให้ "เชิดศักดิ์" ลาออก

ที่สำคัญ กลุ่ม "ขุนพลเศรษฐกิจ" ของรัฐบาลทักษิณวันนี้ล้วนแต่เคยทำงานร่วมกับ "สนธิ" มาแล้ว

ไม่ว่าจะเป็น "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์-ทนง พิทยะ" หรือ "พันศักดิ์ วิญญรัตน์"

เป็นตัวเสริมสายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น



"สนธิ" เห็นแววของ "สมคิด" ตอนที่ยังเป็นอาจารย์อยู่ที่ "นิด้า" เขาเชิญ "สมคิด" มาเขียนคอลัมน์ประจำในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

และเข้ามาช่วยดูแลหนังสือ "สหพัฒน์ โตแล้วแตก แตกแล้วโต" ของ "สมใจ วิริยะบัณฑิตกุล"

"สมคิด" เคยเป็นกรรมการของกลุ่มผู้จัดการ

เขารู้จักกับ "ทักษิณ" ตอนที่เป็นกรรมการของ "ไออีซี"

และจากนั้นสายสัมพันธ์ระหว่าง "ทักษิณ-สมคิด" ก็เริ่มก่อตัวขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย

เป็น "ขุนพลเศรษฐกิจ" ตัวจริงเสียงจริงของ "ทักษิณ"

ส่วน "ทนง" เป็นเพื่อนนักเรียนอัสสัมชัญของ "สนธิ"

เป็นอาจารย์นิด้าก่อนเข้ามาทำงานที่แบงก์ทหารไทย

ขึ้นสู่ตำแหน่ง "รองกรรมการผู้จัดการใหญ่" แต่โดน "ศุภชัย พานิชภักดิ์" แซงโค้งเข้าป้ายในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่

คุ้นเคยกับ "สนธิ" ระดับเที่ยวเตร่ด้วยกัน

เมื่อ "ทนง" ลาออกจากแบงก์ ตอนที่กำลังว่างงานก็ไปนั่งอยู่กับ "สนธิ" ที่ "ผู้จัดการ"

"สนธิ" เป็นคนแนะนำ "ทนง" กับ "ทักษิณ" พร้อมยืนยันในเรื่องฝีมือและความสามารถ

"ทักษิณ" ดึง "ทนง" มาช่วยวางระบบเรื่องการเงินให้กับกลุ่มชินคอร์ป

จากนั้นไม่นาน "ทนง" ก็กลับไปนั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารทหารไทยอีกครั้ง เมื่อ "ศุภชัย" พ้นจากตำแหน่ง

ช่วงนั้น "ทนง" ให้สัมภาษณ์ว่ามี 2 คนที่เขาจะไม่ลืม เพราะเป็นคนให้ความช่วยเหลือเขาในตอนที่ลำบาก

คนหนึ่ง คือ "ทักษิณ ชินวัตร"

ไม่มีความคิดเห็น: